วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติปทุมธานี

ประวัติความเป็นมา
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ
พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม
คำขวัญจังหวัดปทุมธานี

          จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นถิ่นฐานบ้านเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 300 ปี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา คือเมื่อพุทธศักราช 2202 มังนันทมิตรได้กวาดต้อนครอบครัวมอญ เมืองเมาะตะมะ อพยพหนีภัยจากศึกพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ครอบครัวมอญเหล่านั้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก จากนั้นมาชุมชนสามโคกได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ต่อมาแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ชาวมอญได้อพยพหนีพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอีกเป็นครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่สามโคก และครั้งสุดท้ายในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการอพยพชาวมอญครั้งใหญ่จากเมืองเมาะตะมะ เข้าสู่ประเทศไทยเรียกว่า " มอญใหญ่" พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญบางส่วนตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคกอีกเช่นเดียวกัน ฉะนั้นจากชุมชนที่ขนาดเล็ก "บ้านสามโคก" จึงกลายเป็น "เมืองสามโคก" ในกาลต่อมา
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเอาพระทัยใส่ดูแล ทำนุบำรุงชาวมอญเมืองสามโคกไม่ได้ขาด ครั้งเมื่อเดือน 11 พุทธศักราช 2358 ได้เสด็จประพาสที่เมืองสามโคก และประทับที่พลับพลาริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งซ้ายเยื้องเมืองสามโคก ยังความปลาบปลื้มใจให้แก่ชาวมอญเป็นล้นพ้น จึงได้พากันหลั่งไหลนำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯถวายราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง จึงบันดาลพระราชหฤทัยให้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" ซึ่งวันนั้นตรงกับวันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2538 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชื่อเมืองประทุมธานีจึงได้กำเนิดนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
          ในปีพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทน"เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดใหม่จาก "ประทุมธานี" เป็น "ปทุมธานี" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัดธัญบุรีขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีเมื่อ พุทธศักราช 2475
          นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้พระราชทานนาม เมืองปทุมธานีเป็นต้นมา จังหวัดปทุมธานีก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ เป็นจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์มีศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์อื่นๆเป็นของตัวเองซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวปทุมธานีภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ตัวเมืองปทุมธานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯไปทางทิศเหนือประมาณ 46 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1,565 ตารางกิโลเมตร เเบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองปทุมธานี สามโคก ลาดหลุมเเก้ว ธัญบุรี หนองเสือ คลองหลวง และลำลูกกา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปทุมธานี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 
ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี
รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้าง
ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร
จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"


คำขวัญของจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ธงประจำจังหวัดปทุมธานี



ความหมายของธงประจำจังหวัด
                             สีน้ำเงิน  หมายถึง   พระมหากษัตริย์
                             สีขาว     หมายถึง  ศาสนา
          ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว  หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว
          ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง  ของชาติไทย  ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
  
ความสำคัญของธงประจำจังหวัดปทุมธานี เป็นการเชิดชูเกียรติของจังหวัด  บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของจังหวัด
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจชาวจังหวัดปทุมธานี ให้มีความรักท้องถิ่นและมีความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ ความเจริญ และมีความเอื้ออารีต่อกัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด
             ชื่อสามัญ           Nelumbo nucifera
             ชื่อวิทยาศาสตร์    Nymphaea lotus Linn.
             วงศ์                  NYMPHACACEAE
             ชื่ออื่น                บุณฑริก, สัตตบงกช
             ลักษณะทั่วไป      เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดิน
                                    ใต้น้ำการเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ
                                    ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบสีเขียวขอบ
                                    น้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู     
                                    เหลือง ลักษณะ สีสันขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิด
                                    ของพันธุ์  การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจาก
                                    หัวหรือเหง้า สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสม
                                    อินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำแสงแดด
                                    อ่อน จนถึง แดดจัด  ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย
                                    เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดปทุมธานี

พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหนึ่ง ประกอบด้วย กลุ่มอาคารพิพิธภัณฑ์ 9 อาคาร มีทางเดินเชื่อมต่อกัน จัดแสดงเรื่องราวทางการเกษตรผ่านเทคโนโลยีทันสมัย และหุ่นจำลอง ครอบคลุมเนื้อหางานการเกษตรทุกด้าน ได้แก่ การพัฒนาที่ดิน ป่าไม้ ประมง ปศุสัตว์ ระบบนิเวศ ส่วนด้านนอกมีเรือนเพาะปลูก แปลงนาสาธิต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรทุกภูมิภาคของไทย นอกจากนี้ ยังเป็นศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ประชุมสัมมนาด้านวิชาการเกษตร
สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 เป็นพิพิธภัณฑ์ทางด้าน ชาติพันธุ์วิทยา ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญยิ่งของพสกนิกรชาวไทย
ตั้งอยู่ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง เป็นสถาบันฝึกสุนัขของเอกชน รับฝึกสุนัขใช้งานจริง ด้วยหลักสูตรการสอนหลายหลักสูตร อาทิ หลักสูตรวินัยความเชื่อฟังพื้นฐาน หลักสูตรเสริมทักษะและหลักสูตรสุนัขอารักขา
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 กรมศิลปากรได้ทำการจัดตั้งหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ขึ้น เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นสิ่งอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติ อาคารก่อสร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ สมัยรัชกาลที่ 9 ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองห้า มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร 4 ส่วน มีทางเชื่อมและลานเอนกประสงค์ ประกอบด้วย อาคารเก็บเอกสารจดหมายเหตุ เป็นอาคาร 9 ชั้น อาคารให้บริการค้นคว้า อาคารจัดแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ
หออัครศิลปิน พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ ที่เป็นการสื่อสารความรู้ให้กับผู้เข้าชม ให้เข้าใจสาระทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้โดยง่าย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองหก ในบริเวณเทคโนธานี ตัวอาคารโดดเด่นด้วยการออกแบบเป็นรูปลูกเต๋า ภายในจัดแสดงนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย ที่สามารถสร้างความเพลิดเพลินไปพร้อมกับการเรียนรู้ ชั้นที่ 1 จัดแสดงภาพ และผลงานนักวิทยาศาสตร์ การจำลองลูกโลกขนาดใหญ่ ชั้นที่ 2 จัดแสดงหุ่นจำลอง ลูซี่ ที่ทำจากฟอสซิล เป็นรูปเหมือนที่แสดงถึงการกำเนิดมนุษย์คนแรก ยานอวกาศ และมนุษย์อวกาศจำลอง ชั้นที่ 3 เป็นอุโมงค์เงา และเรือนไม้ จัดแสดงในเรื่องของแสง ชั้นที่ 4 จัดแสดงพื้นฐาน และเทคโนโลยีในประเทศไทยลักษณะทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา นิเวศวิทยา การผลิตด้านการเกษตรและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ชั้นที่ 5 คือแสดงการแยกแยะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ รวมถึงสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และ ชั้นที่ 6 แสดงถึงภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้แล้วยังมีอาคารธรรมชาติวิทยาที่จัดแสดงนิทรรศการทางธรรมชาติ
วัดพืชอุดม
ตั้งอยู่ที่ตำบลคูคต ในความดูแลของกรมยุทธศึกษาทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทั้งอนุสรณ์สถานเทิดทูนวีรกรรมบรรพบุรุษไทยที่ได้ใช้สติปัญญา ความสามารถตลอดจนเลือดเนื้อและชีวิตเข้าปกป้องผืนพสุธามาตุภูมิแห่งนี้ไว้ และเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยตลอดจนเหตุการณ์รบครั้งสำคัญของไทย และสงครามที่กองทัพไทยได้ไปปฏิบัติการรบในต่างประเทศ อาทิ สงครามเวียดนาม สงครามเกาหลี โดยใช้หุ่นจำลองเหตุการณ์ และภาพถ่าย มีห้องจัดแสดงวิวัฒนาการเครื่องแบบเครื่องหมายยศของทหารทุกยุคสมัย ดินจากสมรภูมิรบที่สำคัญ ด้านหน้าอาคารประดิษฐานพระบรมรูปรัชกาลที่ 5 แกะสลักด้วยหินอ่อนขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง และที่น่าสนใจมากคืออาคารภาพปริทัศน์แสดงภาพจิตรกรรมอันงดงามบนผนังโค้งวงกลม เรื่องราวจากสมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันประกอบเสียงคำบรรยาย รวมความยาวโดยรอบถึง 90 เมตร ด้านนอกจัดแสดงวัตถุยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ปลดประจำการ
วัดเขียนเขต ตั้งอยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ บริเวณคลองหน้าวัดมีปลาสวายจำนวนมาก มีขนาดใหญ่ตัวละ 3- 5 กิโลกรัม
สวนสนุกดรีมเวิลด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านทิศใต้ของตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ และเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร เดิมชื่อ “วัดมะขามใต้” ในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องทศชาติชาดกที่งดงาม วัดนี้ได้รับการปฏิสังขรณ์ โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒนา สมเด็จพระสังฆราชเจ้า อดีตเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ในสมัยรัชกาลที่ 7ตั้งอยู่ตำบลคลองห้า สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งมวล เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่พสกนิกรและศิลปินทั่วโลก เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานด้านศิลปและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของพระองค์ 9 ด้าน คือ ด้านหัตถกรรม ด้านกีฬา ด้านวรรณศิลป์ ด้านจิตรกรรม ด้านถ่ายภาพ ด้านภูมิสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม ด้านดนตรี และด้านการพระราชนิพนธ์เพลง นอกจากนี้ ยังเป็นที่จัดแสดงประวัติและผลงานอันล้ำค่าของศิลปินแห่งชาติทุกท่านในรูปแบบนิทรรศการภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัยและถ่ายทอดผลงานและภูมิปัญญาของศิลปินแห่งชาติทั้ง 4 สาขา คือ สาขาวรรณศิลป์ ศิลปการแสดง ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ตั้งอยู่ที่ตำบลลำไทร ริมคลองหกวา บริเวณวัดเต็มไปด้วยรูปปั้นแสดงความเชื่อเรื่องบาปบุญในพระพุทธศาสนา ส่วนในพระอุโบสถประดิษฐานหลวงพ่อโสธรจำลอง มีบันไดเล็ก ๆ ขึ้นไปยังสวรรค์ภูมิทั้ง 9 ชั้นที่ได้จำลองไว้ และมีทางลงไปนรกภูมิใต้อุโบสถ
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2439 โดยหม่อมเขียน หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าสายสนิทวงศ์เป็นผู้มอบถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด แรกเริ่มนั้นวัดนี้เป็นเพียงสำนักสงฆ์ มีหลวงพ่อดำเป็นเจ้าสำนักโดยใช้วัตถุหาง่าย เช่น นำเอาไม้ไผ่มาขัดเป็นพื้นหลังคา และฝาผนังทำด้วยหญ้า หม่อมเขียนพร้อมด้วยเครือญาติและประชาชนในท้องถิ่นเห็นความลำบากของพระเณรที่จำพรรษาอยู่ จึงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างกุฏิเป็นทรงไทยขึ้นใหม่รวม 6 หลัง เพื่อเป็นสมบัติในพระพุทธศาสนา ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ เช่น หอระฆังเก่า โบสถ์หินอ่อนเก่าและจิตรกรรมฝาผนัง ที่แสดงให้เห็นประเพณีไทยดั้งเดิม และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปทุมธานี
วัดมูลจินดาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลบึงยี่โถ กิโลเมตรที่ 7 เส้นทางสายรังสิต-นครนายก เป็นสวนสนุกและสถานที่พักผ่อนที่รวบรวมความบันเทิงนานาชนิดเข้าไว้ด้วยกันในเนื้อที่กว่า 160 ไร่ ประกอบด้วยดินแดนต่างๆ 4 ดินแดน ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีบรรยากาศแห่งความสุข สนุกสนานที่แตกต่างกันออกไป ได้แก่ ดรีมเวิลด์ พลาซ่า ดินแดนที่เต็มไปด้วยความงดงามของสถาปัตยกรรมอันวิจิตร พิศดารตลอดสองข้างทาง ดรีมการ์เด้น เป็นอุทยานสวนสวยที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงามท่ามกลางความเย็นสบายจากทะเลสาบขนาดใหญ่ และเคเบิ้ลคาร์ ที่จะพาชมความงามของทัศนียภาพในมุมสูง แฟนตาซี แลนด์ เป็นดินแดนแห่งเทพนิยาย ประกอบด้วย ปราสาทเจ้าหญิงนิทรา บ้านขนมปัง และบ้านยักษ์ แอดแวนเจอร์ แลนด์ ดินแดนแห่งการผจญภัย และท้าทาย ประกอบด้วย รถไฟตะลุยจักรวาล ไวกิ้งส์ เมืองหิมะ
วัดชินวราราม วัดบางหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2164 โดยชาวมอญที่อพยพมาจากเมืองหงสาวดี ชื่อวัดโบสถ์นำมาจากชื่อหมู่บ้านที่ชาวมอญอพยพมาจากเมืองมอญ เช่นเดียวกับวัดอีกหลายวัดในปทุมธานี เช่น วัดหงษ์ วัดบางตะไนย์ ประชาชนมักมาที่วัดเพื่อสักการะหลวงพ่อสามพี่น้องในพระอุโบสถ และรูปหล่อหลวงปู่เทียน (พระครูบวรธรรมกิจ) พระเถระผู้ทรงคุณวิทยา ส่งเสริมด้านการศึกษาให้ชาวปทุม วัดนี้ยังคงมีวิหารเก่าเหลืออยู่ 1 หลัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่จากรามัญ คือ พระแสงอาญาสิทธิ์ และยังเก็บรักษาสิ่งสำคัญคือ ช้างสี่เศียรและบุษบกสัมฤทธิ์สำหรับประดับเสาหงส์ และรูปปั้นสุนัขย่าเหลหล่อด้วยตะกั่วที่เจ้าอาวาสได้รับพระราชทานมาจากรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองปทุมธานี
วัดหงษ์ปทุมาวาส (วัดมอญ)
เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดปทุมธานี ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าศาลากลางจังหวัด เป็นศาลาแบบจตุรมุขยอดปรางค์ ประดิษฐานเสาหลักเมืองซึ่งมีลักษณะคล้ายก้านดอกบัวหลวงทำจากไม้ชัยพฤกษ์ และมีรูปหล่อพระนารายณ์สี่กรทรงเหนือหลังนกฮูกและพระวิษณุหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ด้านหลังของมณฑปบรรจุพระยอดธงวัดไก่เตี้ย อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายประกอบด้วยเครื่องรางของขลังที่รวบรวมมาจากวัดต่างๆ ในจังหวัดปทุมธานี
ห้องสมุดเรือและชุมชนบางปรอก ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเตย ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา สร้างโดยชาวมอญ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ชื่อว่า “วัดโกว๊ะ” ซึ่งแปลว่า “จันทน์กะพ้อ” ซึ่งชาวมอญ ถือว่าเป็นไม้มงคลเหมือนต้นราชพฤกษ์ ภายในวัดมีหอวัฒนธรรม ซึ่งเก็บรวบรวมศิลปวัตถุมอญ และยังมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์ปลาหน้าวัด นอกจากนี้ยังเป็นวัดที่ประกอบพิธีสำคัญของชาวปทุมธานีเช่น พิธี “ออกฮ้อยปะจุ๊” แข่งธงตะขาบ งานตักบาตรพระร้อย
วัดเจดีย์ทอง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลท้ายเกาะ อยู่ท้ายเกาะใหญ่มีเจดีย์มอญที่ใหญ่ที่สุด กุฏิลายจำหลักไม้สวยงามชมศาลาสองหลังต่อกันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในคราวเสด็จประพาสต้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ร.ศ. 125 ซึ่งพระองค์เสด็จประทับ ณ ศาลาหลังนี้ และชมจระเข้สตาฟแต่ก่อนนั้นจระเข้บริเวณนี้ชุกชุมมาก มอญเรียกว่า “เวียงจาม” เป็นวัดที่อยู่สุดเขตจังหวัด ปทุมธานีต่อกับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดไผ่ล้อม ตั้งอยู่ที่ ตำบลเชียงรากน้อย วัดมีสิ่งสำคัญคือ พระพุทธรูปสร้างด้วยโลหะเงินปางสะดุ้งมาร ธรรมมาสน์ทำด้วยไม้สักฉลุสีแดงลายทอง และเจดีย์มอญอายุกว่า 100 ปี มีฐานเป็นสิงห์ องค์สถูปชั้นยอดเจดีย์เป็นดอกบัว 9 ชั้น ลักษณะเจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยม
วัดสะแก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งยังปรากฏเจดีย์ โบสถ์ วิหารเก่าแก่ ควรค่าแก่การศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี พระพุทธรูปสำคัญของวัดคือ หลวงพ่อโต พระพุทธรูปลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย สมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธไสยาสน์ (หลวงพ่อเพชร) นอกจากนี้ยังมีโกศบรรจุอัฐิหลวงพ่อพญากราย ซึ่งเป็นพระมอญธุดงค์มาจำพรรษาที่วัดสิงห์ บนกุฎิของวัดมีพิพิธภัณฑ์ เก็บรักษาของเก่าได้แก่ ตุ่มสามโคก แท่นบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองสามโคก ใบลานอักษรมอญ ตู้พระธรรม และพระพุทธรูป
โรงเรียนมวยไทย ตั้งอยู่ตำบลบ่อเงิน บริเวณวัดมีการขุดพบซากหอยนางรมยักษ์อายุนับล้านปีจำนวนมาก หลวงพ่อทองกลึงจึงนำซากหอยโบราณมาก่อเป็นเจดีย์ขึ้นที่ด้านหน้าทางเข้าและในวัด นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์รวบรวมพระพุทธรูป และศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้เก่า ๆ จำนวนมาก เช่น ตุ่มสามโคก ถ้วยชามดินเผา ไม้แกะสลัก เครื่องคิดเลข เป็นต้น ในบริเวณวัดมีสวนสมุนไพร บ่อเลี้ยงเต่าและบ่อปลา
วัดบัวขวัญ วัดลำมหาเมฆ เป็นตลาดกลางสินค้าการเกษตรแห่งประเทศไทย ศูนย์กลางสินค้าการเกษตร และอุตสาหกรรม การเกษตร ครบวงจร เพื่อภาคการเกษตรกรรมไทย บนเนื้อที่กว่า 500 ไร่ ถูกออกแบบให้ยิ่งใหญ่กว้างขวาง และสะดวกสบาย แตกต่างจากตลาดกลางแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง ด้วยการแบ่งตลาดออกเป็นสัดส่วน ตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย
ตลาดน้ำคลองสาม ตั้งอยู่ที่บ้านลำมหาเมฆ ตำบลบ่อเงิน อำเภอลาดหลุมแก้ว มีบริเวณบึงน้ำไหลของวัดมีนกมากมายหลายชนิดอาศัยสร้างรัง ฟักไข่ตามธรรมชาติจำนวนมาก เช่น นกกระยางขาว นกกระสา นกกาน้ำ และนกชนิดอื่นๆ
ตลาดไท จากตำนานการอพยพของชาวรามัญเข้ามาสู่เมืองสามโคกหรือจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน เส้นทางสำคัญในการค้าขายของบรรพบุรุษ ได้บอกเล่าวิถีชีวิตที่อิงแอบกับสายน้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยการดำเนินชีวิตที่เปี่ยมด้วยมนต์เสน่ห์ของวิถีชาวชุมชนสองฝากฝั่ง อันเต็มไปด้วยเรื่องราวของความเจริญรุ่งเรืองทางประวัติศาสตร์ อารยธรรมและความสำคัญทางด้านการสถาปนาของพระเจ้าแผ่นดินหลากหลายพระองค์ตั้งอยู่ที่ตำบลบางหลวง มีสิ่งที่สำคัญคือ พระอุโบสถทรงไทยโบราณ ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยและภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติ นอกจากนี้ ยังมีเจดีย์มอญ 2 องค์ คือ ทรงชเวดากอง และมูเตา ซึ่งวัดนี้ใช้ประกอบศาสนพิธีของชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนมาถึงปัจจุบัน
วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตำบลบางปรอก เป็นวัดที่สร้างโดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี มีสัญลักษณ์ของวัดมอญคือ เสาหงส์ ซึ่งบนยอดเสาเป็นตัวหงส์หมายถึง เมืองหงสาวดี เมืองหลวงของชาวมอญ ปูชนียวัตถุสำคัญของวัดคือ พระพุทธชินราชจำลองปางมารวิชัย เจดีย์มอญจำลองแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองในเมืองหงสาวดี วิหารจำลองได้แบบมาจากกรุงหงสาวดีหลังคาเป็นชั้นๆ มีลวดลายที่สวยงามมาก อุโบสถเป็นอุโบสถสร้างใหม่ตามสถาปัตยกรรมของไทย มองเห็นช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ได้แต่ไกล ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวพุทธประวัติและยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย รูปหล่อหลวงปู่เฒ่าที่ชาวบ้านนับถือ
ศาลหลักเมือง ชุมชนบางปรอก ตั้งอยู่ติดกับวัดหงส์ปทุมาวาส เป็นชุมชนชาวมอญที่เข้มแข็งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรม ได้ร่วมกันสร้างห้องสมุดเรือที่ทำจากเรือเก่าไว้บริเวณใต้ร่มไทรที่มีอายุมากกว่า 100 ปี ซึ่งเป็นศูนย์รวมให้เยาวชนในชุมชนได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ มีการสอนคอมพิวเตอร์ เรียนรำไทย กลองยาว ดนตรีไทย เป็นสถานที่ผลิต-จำหน่ายสินค้าชุมชน สนามเด็กเล่น และเป็นศูนย์ต้อนรับคณะผู้มาเยือนโดยจัดกิจกรรมต้อนรับเช่น การแสดงดนตรี-รำมอญ อาหารพื้นบ้านชาวมอญเช่น ข้าวแช่ กวนกะละแม แสดงวัฒนธรรมชาวมอญ เช่น ประเพณีแห่หางหงษ์-ธงตะขาบ ชมศูนย์แพทย์แผนไทย การทำปุ๋ยชีวภาพ การผลิตของที่ระลึกจากวัสดุเหลือใช้
วัดจันทน์กะพ้อ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลคลองควาย ในวัดนี้มีเจดีย์ทรงรามัญ สร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์โดยชาวมอญ เป็นสถาปัตยกรรมมอญที่เลียนแบบมาจากเจดีย์จิตตะกองของพม่า และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างขึ้นด้วยหยกขาว เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทยรามัญ
วัดท้ายเกาะ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านงิ้ว บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งดูนกปากห่างที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เป็นอันมาก ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งรวมพื้นที่ของวัดไผ่ล้อมและวัดอัมพุวราราม ในเนื้อที่ 74 ไร่ บริเวณวัดมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น เป็นที่อาศัยของนกปากห่างมากว่า 100 ปีแล้ว
วัดพลับสุธาวาส ตั้งอยู่ที่ตำบลสามโคก ภายในวัดมีกุฏิสงฆ์ อาคารทรงไทยแบบรามัญ เป็นอาคารเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองและเจดีย์แบบอื่น มีโบสถ์และหอระฆังเก่าสมัยอยุธยา
วัดสิงห์ เป็นศูนย์รวมของศิลปะแม่ไม้และลูกไม้มวยไทย มีหลักสูตรการสอนมวยไทยขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นอาชีพ หลักสูตรผู้ฝึกสอนมวยไทย หลักสูตรผู้ตัดสินมวยไทย สำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป
วัดเจดีย์หอย
เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอลาดหลุมแก้ว ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปทองสำริด ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูปตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีและพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ สมัยรัชกาลที่ 6 เดิมเรียกว่า "ศาลาแดง" ตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ ศูนย์ฝึกสุนัขคลองหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

เปิงสงกรานต์ เป็นประเพณีสงกรานต์ ข้าวแช่ของชาวไทยรามัญ มีการนำข้าวสุกแช่ลงในน้ำ เย็นลอยดอกมะลิ พร้อมกับจัดอาหารคาวหวาน เป็นสำรับแล้วแห่ไปถวายพระ และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันสงกรานต์ พอตกบ่ายก็จะมีการก่อพระ ทรายและร่วมปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระ และยกขบวนไปรด น้ำอวยพรผู้ใหญ่ การรำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังจากการออกพรรษา เป็นช่วงการ ทอดกฐินและทอดผ้าป่า คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีการจองกฐิน หรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปจอด ที่หัวบันไดบ้าน แล้วจะร้องเพลงเชิญชวนให้ทำบุญ เช่น บริจาคข้าวสาร เงิน ทองและสิ่งของ เมื่อได้รับแล้วก็จะร้องเพลงอวยพรให้ผู้บริจาคมีความสุข ความเจริญ การรำพาข้าวสารจะเริ่มตั้งแต่ 19.00 น.ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิก และพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็จะพายเรือไปขอรับ บริจาคที่ตำบลอื่น ๆ จนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึง ยุติการรำพาข้าวสาร จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ได้ไปทอดกฐินที่วัดนั้นประเพณีตักบาตรพระร้อย มอญรำ ทะแยมอญ การจุดลูกหนู การเล่นสะบ้า มาชุมนุมเล่นทอยลูกสะบ้ากัน จัดขึ้นในวันสงกรานต์เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมอญจัดขึ้นในวันสงกรานต์ตอนบ่ายๆ หนุ่มสาวชาวบ้านพบปะสมาคมกันอย่างใกล้ชิด โดยพวกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้ลูกหลานของตนแต่งกายให้สวยงาม เป็นประเพณีเผาศพพระภิกษุ-สามเณรใช้ดอกไม้เพลิงเป็นฉนวน ร้อยด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังดอกไม้เพลิง ดอกไม้เพลิงจะวิ่งไปจุดไฟที่เมรุ ทุกโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครึกครื้น เป็นการละเล่นพื้นเมืองของหนุ่มสาวชาวมอญ มีลักษณะคล้ายหมอลำของภาคอีสาน หรือลำตัดของคนไทยภาคกลาง มีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีต่อปากต่อคำกันเป็นประเพณีของชาวรามัญโบราณตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการใช้ปี่พาทย์มอญเล่นประกอบการรำและการร้อง ใช้หญิงสาวจำนวน 8-12 คนขึ้นไปรำในงานพิธีมงคล โดยจะแต่งกายชุดของชาวมอญห่มสไบเฉียง เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม เกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิ ทัดดอกไม้สดข้างหูและสวมกำไลที่ข้อเท้าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวมอญในจังหวัดปทุมธานีที่ทำในเทศกาลออก พรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป สืบทอดมานับร้อยปี ด้วยการนำ อาหารคาว-หวานลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีเชือกขึงไว้ เป็นแนวเพื่อรอตักบาตร จากนั้นพระจากวัดต่าง ๆ ก็จะลงเรือมารับบิณฑบาตร จากเรือที่จอดอยู่โดยการสาวเชือกตั้งแต่ต้นจนสุดปลายเชือก หลังจากพิธีตัก บาตรในช่วงเช้าแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีงานปิดทองนมัสการพระประธานใน โบสถ์ มีการแข่งเรือ และมหรสพพื้นบ้าน

อาหาร-สิ่งของเครื่องใช้ที่สำคัญขึ้นชื่อจังหวัดปทุมธานี

อาหารหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่สำคัญและขึ้นชื่อของจังหวัด

อาหารที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ กุ้งเต้น ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต โดยเฉพาะเส้นทางเลียบคลองสายรังสิต-นครนายก จะมีร้านขายก๋วยเตี๋ยวเรืออยู่เรียงราย
ขนมกุยช่ายเจ็มล ได้รับเกียรติยกย่อง ให้เป็นของดีประจำจังหวัด เป็นปี ที่2 ซึ่งในปีนี้ทางจังหวัดก็ยังมอบเกียรติอันยิ่งใหญ่ให้แก่ทางร้าน กุยช่ายเจ็มล อีกหนึ่งปี สร้างชื้อเสียงให้แก่ จังหวัดปทุมธานี ให้เป็นที่รู้จัก ทั่วประเทศ