วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเพณีที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

เปิงสงกรานต์ เป็นประเพณีสงกรานต์ ข้าวแช่ของชาวไทยรามัญ มีการนำข้าวสุกแช่ลงในน้ำ เย็นลอยดอกมะลิ พร้อมกับจัดอาหารคาวหวาน เป็นสำรับแล้วแห่ไปถวายพระ และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในวันสงกรานต์ พอตกบ่ายก็จะมีการก่อพระ ทรายและร่วมปล่อยนกปล่อยปลา นำน้ำหอมไปสรงน้ำพระ และยกขบวนไปรด น้ำอวยพรผู้ใหญ่ การรำพาข้าวสาร เป็นประเพณีของชาวมอญ นิยมทำกันหลังจากการออกพรรษา เป็นช่วงการ ทอดกฐินและทอดผ้าป่า คือ ถ้าวัดใดยังไม่มีการจองกฐิน หรือยังไม่ได้ทอดกฐิน ชาวบ้านก็จะช่วยกันจัดกฐินไปทอด โดยคณะผู้รำพาข้าวสารจะพายเรือไปจอด ที่หัวบันไดบ้าน แล้วจะร้องเพลงเชิญชวนให้ทำบุญ เช่น บริจาคข้าวสาร เงิน ทองและสิ่งของ เมื่อได้รับแล้วก็จะร้องเพลงอวยพรให้ผู้บริจาคมีความสุข ความเจริญ การรำพาข้าวสารจะเริ่มตั้งแต่ 19.00 น.ไปจนถึงเที่ยงคืนจึงเลิก และพากันกลับบ้านและในคืนต่อไปคณะรำพาข้าวสารก็จะพายเรือไปขอรับ บริจาคที่ตำบลอื่น ๆ จนกระทั่งเห็นว่าข้าวของที่ได้มาพอที่จะทอดกฐินแล้วจึง ยุติการรำพาข้าวสาร จากนั้นจึงนำสิ่งของที่ได้ไปทอดกฐินที่วัดนั้นประเพณีตักบาตรพระร้อย มอญรำ ทะแยมอญ การจุดลูกหนู การเล่นสะบ้า มาชุมนุมเล่นทอยลูกสะบ้ากัน จัดขึ้นในวันสงกรานต์เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวมอญจัดขึ้นในวันสงกรานต์ตอนบ่ายๆ หนุ่มสาวชาวบ้านพบปะสมาคมกันอย่างใกล้ชิด โดยพวกผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่ายจะเปิดโอกาสให้ลูกหลานของตนแต่งกายให้สวยงาม เป็นประเพณีเผาศพพระภิกษุ-สามเณรใช้ดอกไม้เพลิงเป็นฉนวน ร้อยด้วยเชือกฉนวน เมื่อจุดไฟ ไฟจะวิ่งตามฉนวนไปยังดอกไม้เพลิง ดอกไม้เพลิงจะวิ่งไปจุดไฟที่เมรุ ทุกโอกาสที่ต้องการความสนุกสนานครึกครื้น เป็นการละเล่นพื้นเมืองของหนุ่มสาวชาวมอญ มีลักษณะคล้ายหมอลำของภาคอีสาน หรือลำตัดของคนไทยภาคกลาง มีการร้องเพลงเกี้ยวพาราสีต่อปากต่อคำกันเป็นประเพณีของชาวรามัญโบราณตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการใช้ปี่พาทย์มอญเล่นประกอบการรำและการร้อง ใช้หญิงสาวจำนวน 8-12 คนขึ้นไปรำในงานพิธีมงคล โดยจะแต่งกายชุดของชาวมอญห่มสไบเฉียง เสื้อแขนยาวทรงกระบอกคอกลม เกล้าผมมวยรัดด้วยดอกมะลิ ทัดดอกไม้สดข้างหูและสวมกำไลที่ข้อเท้าเป็นประเพณีอันดีงามของชาวมอญในจังหวัดปทุมธานีที่ทำในเทศกาลออก พรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป สืบทอดมานับร้อยปี ด้วยการนำ อาหารคาว-หวานลงเรือมาจอดเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาโดยมีเชือกขึงไว้ เป็นแนวเพื่อรอตักบาตร จากนั้นพระจากวัดต่าง ๆ ก็จะลงเรือมารับบิณฑบาตร จากเรือที่จอดอยู่โดยการสาวเชือกตั้งแต่ต้นจนสุดปลายเชือก หลังจากพิธีตัก บาตรในช่วงเช้าแล้ว ทางวัดจะจัดให้มีงานปิดทองนมัสการพระประธานใน โบสถ์ มีการแข่งเรือ และมหรสพพื้นบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น