วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

สัญลักษณ์ประจำจังหวัดปทุมธานี

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 
ตราสัญลักษณ์จังหวัดปทุมธานี
รูปวงกลมมีสัญลักษณ์ดอกบัวหลวงสีชมพูอยู่ตรงกลาง และรวงข้าวสีทองอยู่ 2 ข้าง
ดอกบัวและต้นข้าว หมายถึง ความสมบูรณ์ด้วย พืชพันธุ์ธัญญาหาร
จังหวัดปทุมธานี ใช้อักษรย่อว่า "ปท"


คำขวัญของจังหวัดปทุมธานี
ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

ธงประจำจังหวัดปทุมธานี



ความหมายของธงประจำจังหวัด
                             สีน้ำเงิน  หมายถึง   พระมหากษัตริย์
                             สีขาว     หมายถึง  ศาสนา
          ดอกบัวหลวงกับต้นข้าว  หมายถึง  ความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธ์ธัญญาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกบัวและข้าว
          ความหมายรวมของธงประจำจังหวัดปทุมธานี จึงหมายถึงว่าชาวจังหวัดปทุมธานี เป็นหมู่คณะที่มีความรักและความสามัคคีเป็นปึกแผ่นอันเป็นส่วนหนึ่ง  ของชาติไทย  ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์
  
ความสำคัญของธงประจำจังหวัดปทุมธานี เป็นการเชิดชูเกียรติของจังหวัด  บ่งบอกถึงสัญลักษณ์ของจังหวัด
เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจชาวจังหวัดปทุมธานี ให้มีความรักท้องถิ่นและมีความร่วมมือร่วมใจกันสร้างสรรค์ ความเจริญ และมีความเอื้ออารีต่อกัน
ดอกไม้ประจำจังหวัด
             ชื่อสามัญ           Nelumbo nucifera
             ชื่อวิทยาศาสตร์    Nymphaea lotus Linn.
             วงศ์                  NYMPHACACEAE
             ชื่ออื่น                บุณฑริก, สัตตบงกช
             ลักษณะทั่วไป      เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดิน
                                    ใต้น้ำการเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ
                                    ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบสีเขียวขอบ
                                    น้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู     
                                    เหลือง ลักษณะ สีสันขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิด
                                    ของพันธุ์  การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจาก
                                    หัวหรือเหง้า สภาพที่เหมาะสม ดินเหนียว ดินนา ดินผสม
                                    อินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำแสงแดด
                                    อ่อน จนถึง แดดจัด  ถิ่นกำเนิด แถบทวีปเอเซีย
                                    เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น